บันทึกความเข้าใจ ตอน 1

MemorandumofUnderstanding
บันทึกความเข้าใจ ที่จัดทำขึ้นระหว่างไทยกับลาว อันเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การปรับนโยบาย กฎระเบียบและมาตรการในการดำเนินงานระหว่างสองประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งด้านการค้า การลงทุน เศรษฐกิจ และสังคม บันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับลาว มีทั้งสิ้น ๒๒ ฉบับ
๑. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (22 สิงหาคม 1990)๒. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว (9 พฤษภาคม 1991)๓. ความตกลงว่าด้วยการค้า (ฉบับแก้ไขใหม่)(20 มิถุนายน 1991)๔. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนไทย-ลาว (17 สิงหาคม 1991)๕. สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือไทย-ลาว (กุมภาพันธ์ 1992)บันทึกความเข้าใจ ๒๒ ฉบับ มีดังนี้
๖. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต (8 ตุลาคม 1994)๗. ความตกลงเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวร่วมกัน (8 กันยายน 1996)๘. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (20 มิถุนายน 1997)๙. ความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนไทย-ลาว ฉบับลงนาม 20 มิถุนายน 1997 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 กันยายน 1997เป็นความตกลงฉบับใหม่ที่ใช้แทนความตกลงเรื่องข้อบังคับร่วมกัน ว่าด้วยการจราจรชายแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส (16 สิงหาคม 1943)๑๐. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ (5 มีนาคม 1999)
๑๑. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนน (5 มีนาคม 1999)ซึ่งใช้แทนความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-ลาว ลงวันที่ 1 มิถุนายน 1978 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามข้อตกลง กำหนดรายละเอียดการขนส่งทางถนน เมื่อ 17 สิงหาคม 2001๑๒. สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (5 มีนาคม 1999)๑๓. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท และสารตั้งต้น (17 สิงหาคม 2001)๑๔. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (18 ตุลาคม 2002)๑๕. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน (16 ตุลาคม 2003)๑๖. สนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (20 มีนาคม 2004)
๑๗.ความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย-ลาว (20 มีนาคม 2004)๑๘.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา (20 มีนาคม 2004)๑๙.ความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินกีบและเงินบาท (17 สิงหาคม 2004)๒๐.ความตกลงว่าด้วยการสนับสนุนสภาพคล่องเงินบาท (17 สิงหาคม 2004)๒๑.ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาไทย-ลาว (28 ตุลาคม 2004)๒๒.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กไทย-ลาว (13 กรกฎาคม 2005)
สาระสำคัญของความตกลงว่าด้วย การขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว - ครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทั้งกรณีข้ามแดนและผ่านแดน- ไม่ครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างจุดภายในดินแดนของภาคีคู่สัญญา (cabotage) และการขนส่งสินค้าอันตรายหรือสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย
- สินค้าที่ผ่านแดนจะได้รับสิทธิพิเศษคือ จะได้รับการยกเว้นภาษีอากรศุลกากร แต่ประเทศภาคีคู่สัญญายังคงมีอำนาจในการจัดเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้คลังสินค้า ลานสินค้า ค่าธรรมเนียมเข้าออกสถานีขนส่งสินค้า ค่าขนถ่ายสินค้า ค่าธรรมเนียมในการใช้ท่าเรือ และค่าบริการอื่นๆ ภายใต้หลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)
- ประเทศภาคีคู่สัญญายังคงมีอำนาจในการออกกฎระเบียบภายในประเทศได้ดังนั้น กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งของประเทศภาคีคู่สัญญามีผลบังคับใช้กับกิจกรรมการขนส่งภายในประเทศนั้น
- เจ้าของสินค้าสามารถเลือกผู้ประกอบการขนส่งของภาคีคู่สัญญาหรือผู้ประกอบการขนส่งของประเทศที่สาม ซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายของภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้ทำการขนส่งสินค้าผ่านแดนได้
- แต่การกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น รัฐบาลทั้งสองประเทศจะเข้าไปควบคุมกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่ประสบผลขาดทุน และในขณะเดียวกันต้องไม่ให้อัตราค่าโดยสารสูงเกินไป
- การกำหนดราคาขนส่งสินค้าประเทศภาคีจะไม่เข้าไปแทรกแซง โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด
การปรับกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนไทย--ลาว การยอมรับการจดทะเบียนซึ่งกันและกันตามหลักการของความตกลง การอนุญาตรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศสามารถวิ่งข้ามพรมแดนเข้ามาในดินแดนของอีกประเทศได้ จะต้องมีเงื่อนไขของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่เป็นภาษาอังกฤษ และหนังสือรับรองการจดทะเบียนที่เป็นภาษาอังกฤษกรมการขนส่งทางบกได้มีการแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศจัดทำแผ่นป้ายทะเบียนภาษาอังกฤษ สำหรับรถที่จดทะเบียน ตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 แต่สำหรับรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ อยู่ระหว่างการตรวจแก้ไขร่างกฎกระทรวงของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ ได้มีการออกหนังสือดังกล่าวแล้ว โดยขอรับได้ที่ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด สำนักงานขนส่งสาขาทั่วประเทศ   อ่านต่อ