Trade-investment with Laos and China set for 2011

ประเทศไทยและลาวมุ่งสร้างความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและการลงทุนให้แข็งแกร่งขึ้น โดยมีแผนที่จะสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ขึ้น ซึ่งจะเชื่อมระหว่างจังหวัดเชียงราย และเมืองบ่อแก้วของลาว ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในปี 2011 และจะส่งผลดีอย่างมากต่อการค้า การลงทุนการท่องเที่ยว และการขนส่งระหว่างไทย ลาว และ จีน(คุณหมิง) อีกด้วย โดยสามารถลดค่าขนส่งรวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางผ่านแม่น้ำโขง และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนไม่ว่าจะลงทุนด้านโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์แลรูปทางการเกษตร สินค้าต่างๆ รวมถึงการทำไร่อ้อยและสับปะรด
ปีที่ผ่านมา ไทยลงทุนในลาวถึง 3 พันล้านดอลล่าสหรัฐ โดยรวมแล้วการค้าไทย-ลาวมีการมูลค่าสูงถึง 1.5 พันล้านดอลล่าสหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกของไทยสู่ลาว 1.01 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ในขณะที่ไทยนำเข้าจากลาว 493.5 ล้านดอลล่าสหรัฐ
Trade, investment with Laos and China set for 2011 boost
Thailand and Laos aim to forge a stronger economic partnership and double bilateral trade and investment following a plan to construct another Friendship Bridge between the countries.
The bridge - linking Chiang Rai with Bo Keo in Laos - is scheduled for completion in 2011. Last year, bilateral trade reached US$1.5 billion (Bt51.8 billion). Thai exports to Laos rose 30.9 per cent to $1.01 billion, while imports from Laos soared 119 per cent to $493.5 million. Thai investment in Laos reached $3 billion last year. At a meeting of Thailand's team to strengthen trade and investment cooperation, Commerce Minister Krirk-krai Jirapaet, Bo Keo governor Kammun Soonwiroj and Luang Namtha governor Pimmasorn Ruangkamma shared a common view on economic growth. Krirk-krai said the bridge, linking Chiang Rai's Chiang Khong district with Laos' Bo Keo district, should be completed in 2011 and that would create huge benefits for trade and investment. "The bridge will not only serve transportation needs, but also benefit the economic development between Thailand and Laos and Thailand and China," he said. The Friendship Bridge will connect land transportation via Route No 3 East (R3E) between Thailand, Laos and Kunming, China. The bridge will create more two-way trade opportunities and boost Thailand's exports not only to Laos but also China. It will reduce transportation costs as shipment time is currently lengthened by marine transportation via the Mekong River, said Krirk-krai. The Thai government approved construction of the bridge in March and will provide Bt35 million for the design. Construction is expected to start late this year.. Last year, the two countries celebrated the opening of the second Friendship Bridge across the Mekong River between the border provinces of Mukdahan and Savannakhet. The first bridge links Nong Khai and Vientiane. Construction of a third Friendship Bridge between Nakhon Phanom and Khammuan has also been approved, although it is possible that the Chiang Khong-Bo Keo link will be completed first. Businesses that have high opportunities for Thai investors in Laos are hotels and tourism, jewellery, processed agricultural products, consumer goods manufacturing, and sugar cane and pineapple farming. Maitree Srinarawat, director-general of the Transport Ministry's Office of Transport and Traffic Policy and Planning, said the Chiang Khong-Bo Keo bridge would facilitate transportation and reduce logistics costs by two to three times. Exports from Thailand to China via river take three days. This will be cut to one day after the bridge and R3E road are completed. The facilities will create more opportunities for trade and tourism in each country, Maitree said. Lao officials suggested that Thai businessmen invest in Laos, as goods made there can be exported to third countries.

บันทึกความเข้าใจ ตอน 1

MemorandumofUnderstanding
บันทึกความเข้าใจ ที่จัดทำขึ้นระหว่างไทยกับลาว อันเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การปรับนโยบาย กฎระเบียบและมาตรการในการดำเนินงานระหว่างสองประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งด้านการค้า การลงทุน เศรษฐกิจ และสังคม บันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับลาว มีทั้งสิ้น ๒๒ ฉบับ
๑. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (22 สิงหาคม 1990)๒. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว (9 พฤษภาคม 1991)๓. ความตกลงว่าด้วยการค้า (ฉบับแก้ไขใหม่)(20 มิถุนายน 1991)๔. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนไทย-ลาว (17 สิงหาคม 1991)๕. สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือไทย-ลาว (กุมภาพันธ์ 1992)บันทึกความเข้าใจ ๒๒ ฉบับ มีดังนี้
๖. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต (8 ตุลาคม 1994)๗. ความตกลงเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวร่วมกัน (8 กันยายน 1996)๘. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (20 มิถุนายน 1997)๙. ความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนไทย-ลาว ฉบับลงนาม 20 มิถุนายน 1997 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 กันยายน 1997เป็นความตกลงฉบับใหม่ที่ใช้แทนความตกลงเรื่องข้อบังคับร่วมกัน ว่าด้วยการจราจรชายแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส (16 สิงหาคม 1943)๑๐. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ (5 มีนาคม 1999)
๑๑. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนน (5 มีนาคม 1999)ซึ่งใช้แทนความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-ลาว ลงวันที่ 1 มิถุนายน 1978 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามข้อตกลง กำหนดรายละเอียดการขนส่งทางถนน เมื่อ 17 สิงหาคม 2001๑๒. สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (5 มีนาคม 1999)๑๓. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท และสารตั้งต้น (17 สิงหาคม 2001)๑๔. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (18 ตุลาคม 2002)๑๕. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน (16 ตุลาคม 2003)๑๖. สนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (20 มีนาคม 2004)
๑๗.ความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย-ลาว (20 มีนาคม 2004)๑๘.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา (20 มีนาคม 2004)๑๙.ความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินกีบและเงินบาท (17 สิงหาคม 2004)๒๐.ความตกลงว่าด้วยการสนับสนุนสภาพคล่องเงินบาท (17 สิงหาคม 2004)๒๑.ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาไทย-ลาว (28 ตุลาคม 2004)๒๒.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กไทย-ลาว (13 กรกฎาคม 2005)
สาระสำคัญของความตกลงว่าด้วย การขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว - ครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทั้งกรณีข้ามแดนและผ่านแดน- ไม่ครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างจุดภายในดินแดนของภาคีคู่สัญญา (cabotage) และการขนส่งสินค้าอันตรายหรือสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย
- สินค้าที่ผ่านแดนจะได้รับสิทธิพิเศษคือ จะได้รับการยกเว้นภาษีอากรศุลกากร แต่ประเทศภาคีคู่สัญญายังคงมีอำนาจในการจัดเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้คลังสินค้า ลานสินค้า ค่าธรรมเนียมเข้าออกสถานีขนส่งสินค้า ค่าขนถ่ายสินค้า ค่าธรรมเนียมในการใช้ท่าเรือ และค่าบริการอื่นๆ ภายใต้หลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)
- ประเทศภาคีคู่สัญญายังคงมีอำนาจในการออกกฎระเบียบภายในประเทศได้ดังนั้น กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งของประเทศภาคีคู่สัญญามีผลบังคับใช้กับกิจกรรมการขนส่งภายในประเทศนั้น
- เจ้าของสินค้าสามารถเลือกผู้ประกอบการขนส่งของภาคีคู่สัญญาหรือผู้ประกอบการขนส่งของประเทศที่สาม ซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายของภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้ทำการขนส่งสินค้าผ่านแดนได้
- แต่การกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น รัฐบาลทั้งสองประเทศจะเข้าไปควบคุมกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่ประสบผลขาดทุน และในขณะเดียวกันต้องไม่ให้อัตราค่าโดยสารสูงเกินไป
- การกำหนดราคาขนส่งสินค้าประเทศภาคีจะไม่เข้าไปแทรกแซง โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด
การปรับกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนไทย--ลาว การยอมรับการจดทะเบียนซึ่งกันและกันตามหลักการของความตกลง การอนุญาตรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศสามารถวิ่งข้ามพรมแดนเข้ามาในดินแดนของอีกประเทศได้ จะต้องมีเงื่อนไขของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่เป็นภาษาอังกฤษ และหนังสือรับรองการจดทะเบียนที่เป็นภาษาอังกฤษกรมการขนส่งทางบกได้มีการแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศจัดทำแผ่นป้ายทะเบียนภาษาอังกฤษ สำหรับรถที่จดทะเบียน ตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 แต่สำหรับรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ อยู่ระหว่างการตรวจแก้ไขร่างกฎกระทรวงของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ ได้มีการออกหนังสือดังกล่าวแล้ว โดยขอรับได้ที่ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด สำนักงานขนส่งสาขาทั่วประเทศ   อ่านต่อ

Logistics China on R3

Logistics China
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจขนส่งทางถนนในจีน
กฎหมายที่เกี่ยวกับการคมนาคมทางถนนของจีน
1 หมวดกฎหมายและกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับทางหลวงแผ่นดิน
(1) กฎหมายว่าด้วยทางหลวงแผ่นดิน
(2) กฎระเบียบว่าด้วยการขนส่งบนทางหลวงแผ่นดิน(3) กฎระเบียบว่าด้วยการควบคุมการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน(4) ประกาศของกระทรวงตำรวจ กระทรวงคมนาคม และสำนักงาน2 หมวดกฎหมายและกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(1) กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(2) ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(3) ระเบียบการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยใน การคมนาคมทางถนน ออกโดยกระทรวงตำรวจ (4) ระเบียบว่าด้วยการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางคมนาคม(5) ระเบียบว่าด้วยการออกใบขับขี่รถยนต์ (6) ระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนรถยนต์ กำกับควบคุมความปลอดภัยแห่งชาติ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยด้านการขนส่งผู้โดยสารบนถนน
2 หมวดกฎหมายและกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(1) กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(2) ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน(3) ระเบียบการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยใน การคมนาคมทางถนน ออกโดยกระทรวงตำรวจ (4) ระเบียบว่าด้วยการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางคมนาคม(5) ระเบียบว่าด้วยการออกใบขับขี่รถยนต์ (6) ระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนรถยนต์
3 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนน
(1) ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมการขนส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดใหญ่ทางถนน
(2) ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมการขนส่งพัสดุภัณฑ์รายย่อยทางถนน(3) ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมคุณภาพการประกอบกิจการขนส่งพัสดุ ภัณฑ์ทางถนน (ฉบับชั่วคราว)(4) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดการปัญหาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนน
4 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับรถยนต์และผู้ขับขี่( รวม 16 ฉบับ )5 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการจราจรบนถนน( รวม 5 ฉบับ )6 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการจัดการอุบัติเหตุบนถนน( รวม 4 ฉบับ )7 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบนถนน( รวม 5 ฉบับ )8 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการใช้ถนนที่มีโทษทางอาญา( รวม 5 ฉบับ )9 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการเข้าออกอาณาจักรของคนต่างด้าวและการขนส่งสัมภาระ( รวม 11 ฉบับ )
สนธิสัญญาระหว่างประเทศ1 สนธิสัญญาเกี่ยวกับสัญญาขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนนระหว่างประเทศ (Convention on the Contract for the International Carriage of Good by Road) (CMR)3ข้อกำหนดเกี่ยวกับการขนส่งโดยรถยนต์ทางถนนระหว่างประเทศ (1956)(Transport International Regulation) (TIR)2 สนธิสัญญาเกี่ยวกับสัญญาขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ (Conventiononthe ContractfortheInternationalCarriageofPassengersandLuggagebyRoad)(CVR)
ข้อชี้แนะภาคอุตสาหกรรมสำหรับการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
1 ภาคอุตสาหกรรมที่ส่งเสริม (หมวดโลจิสติกส์และการขนส่งทางถนน)
(1) การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ (ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ)(2) การขนส่งสินค้าทางถนน(3) การประกอบกิจการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง เช่น คลังสินค้า ศูนย์รับซ่อมรถยนต์ การให้เช่าหรือเช่าซื้อรถยนต์ การก่อสร้างและสัมปทานกิจการสาธารณูปโภคทางถนน
2 ภาคอุตสาหกรรมที่จำกัด (ต้องขอใบอนุญาต)
(1) กิจการขนส่งพัสดุผ่านแดน
(2) กิจการตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(3) กิจการรถโดยสารนักท่องเที่ยว (เฉพาะกิจการรถโดยสารนักท่องเที่ยวจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายบุกเบิกพัฒนาภาคตะวันตกของจีน)3 ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องห้าม(1) กิจการพัสดุไปรษณียภัณฑ์
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ
ธุรกิจขนส่งทางถนนในจีนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
1 ข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมกิจการขนส่งทางถนน
สำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว2 ข้อกำหนดว่าด้วยการอนุญาตให้ประกอบกิจการตัวแทนขนส่งพัสดุ ภัณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว3 ข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมกิจการตัวแทนขนส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว
4 ระเบียบวิธีปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมกิจการตัวแทนขนส่ง
พัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว
5 หนังสือตอบข้อหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งวิสาหกิจประกอบกิจการด้าน
โลจิสติกส์ของนักลงทุนต่างชาติ
6 ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมการอนุญาตให้วิสาหกิจทุนต่างชาติ ประกอบกิจการลิสซิ่งในจีน
รูปแบบการประกอบกิจการขนส่งทางถนนในจีน
1 กิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งนักท่องเที่ยวทางถนน
ดำเนินการภายใต้รูปแบบการร่วมทุนเท่านั้น
2 กิจการเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุภัณฑ์ หรือ กิจการเกี่ยวกับคลังสินค้า
เพื่อการขนส่ง หรือกิจการเสริมการขนส่ง
ดำเนินการได้ภายใต้รูปแบบ การร่วมทุน หรือ การ่วมมือ หรือ
การลงทุนโดยทุนต่างชาติทั้งหมด รูปแบบหนึ่งรูปแบบใดก็ได้
3 กิจการเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนขนส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศดำเนินการได้ภายใต้รูปแบบ การร่วมทุน หรือ การร่วมมือ หรือ การลงทุนโดยทุนต่างชาติทั้งหมด รูปแบบหนึ่งรูปแบบใดก็ได้
การประกอบกิจการขนส่งนักท่องเที่ยวทางถนนในจีน
สำหรับนักลงทุนต่างชาติ
(1) โครงการต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาด้านการขนส่งทาง
ถนนของรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
(2) เสนอสัญญาร่วมทุนและข้อบังคับของกิจการร่วมทุนต่อหน่วยงาน
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(กรมเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศระดับมณฑลหรือระดับเมือง)
(3) ผู้ร่วมทุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องมีประสบการณ์ใน
การประกอบกิจการขนส่งมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี
(4) นักลงทุนต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 49%
(5) ระยะเวลาประกอบกิจการไม่เกิน 12 ปี แต่
(ก) กิจการที่ใช้เงินลงทุนจำนวนไม่ต่ำกว่า 50% เพื่อการพัฒนาและ
ปรับปรุงเกี่ยวกับด้านการขนส่ง ผู้ประกอบการสามารถขอขยาย
เวลาประกอบการถึง 20 ปี
(ข) กิจการที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณภาพและมีส่วนส่งเสริมนโยบาย
ของรัฐ ผู้ประกอบการนั้นจะได้รับการขยายเวลาประกอบการออกไปอีก
แต่ครั้งละไม่เกิน 20 ปี
การประกอบกิจการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนนในจีน
สำหรับนักลงทุนต่างชาติ
การขออนุมัติโครงการ
(1) คำขออนุญาต จะต้องระบุจำนวนเงินลงทุน ทุนจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ ขนาดของกิจการ ระยะเวลาประกอบการ
และขอบเขตของการประกอบกิจการในจีน
(2) หนังสือสรุปข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการ
(3) หลักฐานการจดทะเบียนบริษัทของนักลงทุนทุกฝ่าย
(4) หลักฐานการรับรองสถานภาพทางการเงินของนักลงทุนทุกฝ่าย
(5) นักลงทุนฝ่ายที่ประสงค์จะลงทุนด้วยทรัพย์สิน
(สิทธิการใช้ที่ดิน เครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์ ฯลฯ)
จะต้องมีหนังสือรับรองการประเมินราคาทรัพย์สินจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(6) หนังสือแสดงเจตนารมณ์ในการร่วมทุนหรือร่วมมือ (MOU)
ระหว่างนักลงทุนต่างชาติกับผู้ประกอบการจีน
(กรณีเป็นภาษาต่างชาติต้องแปลเป็นภาษาจีน)
(7) เอกสารหรือหลักฐานอื่นใดที่หน่วยงานรับคำขอจะพิจารณาเพิ่มเติม
การขอใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งพัสดุภัณฑ์
ผู้ยื่นคำขอต้องนำหนังสืออนุมัติโครงการและหนังสืออนุญาตให้จัดตั้งวิสาหกิจทุนต่างชาติเสนอต่อกรมคมนาคม (ระดับมณฑล) ภายใน 30 วันทำการนับแต่วันได้รับหนังสืออนุญาตเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนน
เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการขนส่งฯ และจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจทุนต่างชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องยื่นขอเลขภาษีต่อกรมสรรพากร
(ระดับมณฑล) หลังจากนั้น จึงจะเริ่มดำเนินกิจการตามที่รับอนุญาตได้
ผู้ยื่นคำขอที่ได้รับหนังสืออนุมัติโครงการ (จากกระทรวงคมนาคม) หากมิได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจให้เสร็จสิ้นภายใน 18 เดือน ให้ถือว่าหนังสืออนุมัติโครงการสิ้นผลบังคับทันที
การประกอบกิจการตัวแทนขนส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศ
เงื่อนไขการขออนุอนุมัติโครงการ
(1) นักลงทุนต่างชาติจะต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50%(2) นักลงทุนฝ่ายจีนหนึ่งบริษัทมีประสบการณ์อย่างน้อย 1 ปี(3) นักลงทุนต่างชาติหนึ่งบริษัทมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี(4) ไม่เคยมีประวัติการทำผิดกฎหมาย(5) ธุรกิจที่แข่งขันไม่อาจเป็นผู้ร่วมทุนได้(6) นักลงทุนต่างชาติที่ยังประกอบกิจการไม่ครบ 2 ปี ห้ามมิให้ยื่นขอประกอบกิจการตัวแทนฯ ในลักษณะเดียวกันแห่งที่ 2
เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสำหรับการจัดตั้งวิสาหกิจทุนต่างชาติในจีน
ประเภทกิจการ
(1) ตัวแทนการขนส่งพัสดุ
ภัณฑ์ระหว่างประเทศ
(ทางถนน)
(2) ขนส่งพัสดุภัณฑ์และคลังสินค้า
(3) โลจิสติกส์
เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
1 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
ระบบการค้าชายแดนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการค้าชายแดน ฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.2005
(1)รูปแบบการค้าชายแดน(ก) ตลาดการค้าระหว่างคนพื้นที่ชายแดนสองฝั่งตลาดการค้าที่ทางการอนุญาตเปิดให้คนพื้นที่ชายแดนทั้งสองฝั่งเข้ามาทำการค้าขายในจุดที่ถูกกำหนดให้อยู่ห่างจากพรมแดนไม่เกิน 20 กิโลเมตร การซื้อขายในตลาดดังกล่าว ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นจำนวนเงินและจำนวนสินค้าเกินกว่าที่กำหนด
(ข)การค้าชายแดนขนาดย่อมการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ตามด่านชายแดนทางบกซึ่งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอชายแดนหรือเทศบาลชายแดน วิสาหกิจที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าชายแดนสามารถเข้าไปติดต่อค้าขายกับบริษัทหรือหน่วยธุรกิจอื่น ๆ ในเขตชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านได้
(2) การเก็บภาษีนำเข้าและภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้องในเขตชายแดน(ก)สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 หยวนต่อคนต่อวัน ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ข)ในส่วนที่เกินจาก 1,000 หยวน ให้อยู่ในระบบเรียกเก็บภาษีตามพิกัดอากรศุลกากรปกติ(ค)สินค้าประเภทบุหรี่ สุรา และเครื่องสำอางที่นำเข้าต้องชำระภาษีตามพิกัดอากรศุลกากรที่กำหนด

วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์
www.fareastlegalthailand.com