FTA Thai-China

อุปสรรคทางการค้าไทย-จีน ( FTA )
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาระบบโลจิสติกส์ของการค้าไทย – จีนเพื่อรองรับข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน กรณีศึกษา การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำการพยากรณ์ปริมาณการซื้อขายของสินค้าชายแดน และสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศไทยและจีนตอนใต้ เพื่อที่จะรวบรวม ประเมิน และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบโลจิสติกส์ วิธีการศึกษาวิจัยประกอบด้วย การเดินทางสำรวจเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งทางแม่น้ำโขง และทางถนนตามเส้นทาง R3W (ผ่านพม่า) และ R3E (ผ่านลาว) เข้าสู่ยูนนานตอนใต้และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์การขนส่งในไทย ลาว พม่าและจีน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎระเบียบและใช้ระเบียบทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์แบบองค์รวม เพื่อตอบสนองการค้าชายแดน/ผ่านแดนในอนาคต ตลอดจนหาความสามารถของผู้ส่งออก-นำเข้าและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของไทย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ยังมีความหลากหลายในมุมมองด้านมาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการค้าไทย-จีนอยู่มากพอสมควร แต่ส่วนใหญ่เห็นว่าจีนยังไม่พัฒนาไปสู่ความเป็นสากลในด้านกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ ทั้งๆที่เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและทำ FTA กับไทยแล้ว เนื่องจากยังมีกฎระเบียบของแต่ละมณฑลหรือท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีอยู่ ในด้านการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งในกรอบ GMS North-South Corridor นั้น การขนส่งสินค้าทางเส้นทาง R3E ผ่านประเทศลาวไปยังคุนหมิงซึ่งการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2551 นั้น เส้นทางนี้จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนเส้นทางหนึ่ง นอกเหนือจากการขนส่งทางน้ำ เพราะเส้นทาง R3E ใช้ระยะเวลาการขนส่งสั้นกว่าการขนส่งทางเรือ อีกทั้งเงื่อนไขในการขนส่งผ่านประเทศลาวยังยืดหยุ่นกว่าผ่านเส้นทาง R3W ในประเทศพม่า แต่ปัจจัยความสำเร็จของการขนส่งทางบกผ่านประเทศลาวนั้น ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก หากมีราคาสูง การขนส่งทางเรือก็ยังเป็นการขนส่งที่มีความสำคัญในภูมิภาคนี้ แต่ถ้าน้ำมันมีราคาต่ำหรือสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนน้ำมันที่มีราคาต่ำลงได้ ตลอดจนมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งและพิธีการศุลกากรควบคู่กันไปด้วย จะทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้เส้นทางขนส่งทางบกผ่านลาวมากขึ้นThis article is extracted from a research entitled, “A Study on Thailand- Southern China Logistics for ASEAN-China FTA Implementation: A Case Study of Border and Transit Trade,” funded by the Thailand Research Fund. Its objective is to study and forecast the volumes of supply and demand of transit commodities in the Thailand-Southern China area. Data collection and in-depth interviews with government officials in Chiangrai and local entrepareneurs in northern Thailand, northern Lao PDR and Yunnan province in southern China have been analyzed for further infrastructure planning and logistics for increasing the volume of transit trade once the construction of international highway R3E is completed by the end of this year.The research found that varieties of tariffs and non-tariff barriers, together with local regulations, particularly on the Chinese side both at the national and local levels, have been main obstacles to the transit trade. Facilitation of transit trade and fair transit transportation charges are therefore vital issues for negotiation among the countries concerned, while international regulations should be respected as well.From: วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (Journal of Public and Private Management)

Trade-investment with Laos and China set for 2011

ประเทศไทยและลาวมุ่งสร้างความร่วมมือกันทางเศรษฐกิจและการลงทุนให้แข็งแกร่งขึ้น โดยมีแผนที่จะสร้างสะพานมิตรภาพไทย-ลาวแห่งที่ 3 ขึ้น ซึ่งจะเชื่อมระหว่างจังหวัดเชียงราย และเมืองบ่อแก้วของลาว ซึ่งคาดว่าจะเสร็จในปี 2011 และจะส่งผลดีอย่างมากต่อการค้า การลงทุนการท่องเที่ยว และการขนส่งระหว่างไทย ลาว และ จีน(คุณหมิง) อีกด้วย โดยสามารถลดค่าขนส่งรวมถึงระยะเวลาที่ใช้ในการเดินทางผ่านแม่น้ำโขง และเป็นโอกาสที่ดีสำหรับนักลงทุนไม่ว่าจะลงทุนด้านโรงแรม ธุรกิจท่องเที่ยว เครื่องประดับ ผลิตภัณฑ์แลรูปทางการเกษตร สินค้าต่างๆ รวมถึงการทำไร่อ้อยและสับปะรด
ปีที่ผ่านมา ไทยลงทุนในลาวถึง 3 พันล้านดอลล่าสหรัฐ โดยรวมแล้วการค้าไทย-ลาวมีการมูลค่าสูงถึง 1.5 พันล้านดอลล่าสหรัฐ แบ่งเป็นการส่งออกของไทยสู่ลาว 1.01 พันล้านดอลล่าสหรัฐ ในขณะที่ไทยนำเข้าจากลาว 493.5 ล้านดอลล่าสหรัฐ
Trade, investment with Laos and China set for 2011 boost
Thailand and Laos aim to forge a stronger economic partnership and double bilateral trade and investment following a plan to construct another Friendship Bridge between the countries.
The bridge - linking Chiang Rai with Bo Keo in Laos - is scheduled for completion in 2011. Last year, bilateral trade reached US$1.5 billion (Bt51.8 billion). Thai exports to Laos rose 30.9 per cent to $1.01 billion, while imports from Laos soared 119 per cent to $493.5 million. Thai investment in Laos reached $3 billion last year. At a meeting of Thailand's team to strengthen trade and investment cooperation, Commerce Minister Krirk-krai Jirapaet, Bo Keo governor Kammun Soonwiroj and Luang Namtha governor Pimmasorn Ruangkamma shared a common view on economic growth. Krirk-krai said the bridge, linking Chiang Rai's Chiang Khong district with Laos' Bo Keo district, should be completed in 2011 and that would create huge benefits for trade and investment. "The bridge will not only serve transportation needs, but also benefit the economic development between Thailand and Laos and Thailand and China," he said. The Friendship Bridge will connect land transportation via Route No 3 East (R3E) between Thailand, Laos and Kunming, China. The bridge will create more two-way trade opportunities and boost Thailand's exports not only to Laos but also China. It will reduce transportation costs as shipment time is currently lengthened by marine transportation via the Mekong River, said Krirk-krai. The Thai government approved construction of the bridge in March and will provide Bt35 million for the design. Construction is expected to start late this year.. Last year, the two countries celebrated the opening of the second Friendship Bridge across the Mekong River between the border provinces of Mukdahan and Savannakhet. The first bridge links Nong Khai and Vientiane. Construction of a third Friendship Bridge between Nakhon Phanom and Khammuan has also been approved, although it is possible that the Chiang Khong-Bo Keo link will be completed first. Businesses that have high opportunities for Thai investors in Laos are hotels and tourism, jewellery, processed agricultural products, consumer goods manufacturing, and sugar cane and pineapple farming. Maitree Srinarawat, director-general of the Transport Ministry's Office of Transport and Traffic Policy and Planning, said the Chiang Khong-Bo Keo bridge would facilitate transportation and reduce logistics costs by two to three times. Exports from Thailand to China via river take three days. This will be cut to one day after the bridge and R3E road are completed. The facilities will create more opportunities for trade and tourism in each country, Maitree said. Lao officials suggested that Thai businessmen invest in Laos, as goods made there can be exported to third countries.

บันทึกความเข้าใจ ตอน 1

MemorandumofUnderstanding
บันทึกความเข้าใจ ที่จัดทำขึ้นระหว่างไทยกับลาว อันเป็นกรอบความร่วมมือระหว่างประเทศเพื่อนำไปสู่การปรับนโยบาย กฎระเบียบและมาตรการในการดำเนินงานระหว่างสองประเทศ เพื่ออำนวยความสะดวกทั้งด้านการค้า การลงทุน เศรษฐกิจ และสังคม บันทึกความร่วมมือระหว่างประเทศไทยกับลาว มีทั้งสิ้น ๒๒ ฉบับ
๑. ความตกลงเพื่อการส่งเสริมและคุ้มครองการลงทุน (22 สิงหาคม 1990)๒. ความตกลงว่าด้วยการจัดตั้งคณะกรรมาธิการร่วมว่าด้วยความร่วมมือไทย-ลาว (9 พฤษภาคม 1991)๓. ความตกลงว่าด้วยการค้า (ฉบับแก้ไขใหม่)(20 มิถุนายน 1991)๔. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือรักษาความสงบเรียบร้อยตามแนวชายแดนไทย-ลาว (17 สิงหาคม 1991)๕. สนธิสัญญามิตรภาพและความร่วมมือไทย-ลาว (กุมภาพันธ์ 1992)บันทึกความเข้าใจ ๒๒ ฉบับ มีดังนี้
๖. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางทูต (8 ตุลาคม 1994)๗. ความตกลงเกี่ยวกับการสำรวจและจัดทำหลักเขตแดนตลอดแนวร่วมกัน (8 กันยายน 1996)๘. ความตกลงเพื่อการเว้นการเก็บภาษีซ้อนและการป้องกันการเลี่ยงรัษฎากรในส่วนที่เกี่ยวกับภาษีเก็บจากเงินได้ (20 มิถุนายน 1997)๙. ความตกลงว่าด้วยการเดินทางข้ามแดนไทย-ลาว ฉบับลงนาม 20 มิถุนายน 1997 มีผลบังคับใช้ตั้งแต่ 19 กันยายน 1997เป็นความตกลงฉบับใหม่ที่ใช้แทนความตกลงเรื่องข้อบังคับร่วมกัน ว่าด้วยการจราจรชายแดนระหว่างประเทศไทยกับอินโดจีนฝรั่งเศส (16 สิงหาคม 1943)๑๐. ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางราชการ (5 มีนาคม 1999)
๑๑. ความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนน (5 มีนาคม 1999)ซึ่งใช้แทนความตกลงว่าด้วยการขนส่งสินค้าผ่านแดนไทย-ลาว ลงวันที่ 1 มิถุนายน 1978 ทั้งสองฝ่ายได้ลงนามข้อตกลง กำหนดรายละเอียดการขนส่งทางถนน เมื่อ 17 สิงหาคม 2001๑๒. สนธิสัญญาว่าด้วยการส่งผู้ร้ายข้ามแดน (5 มีนาคม 1999)๑๓. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือในการควบคุมยาเสพติด วัตถุออกฤทธิ์ต่อจิต และประสาท และสารตั้งต้น (17 สิงหาคม 2001)๑๔. บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการจ้างแรงงาน (18 ตุลาคม 2002)๑๕. ความตกลงว่าด้วยความร่วมมือด้านความมั่นคงบริเวณชายแดน (16 ตุลาคม 2003)๑๖. สนธิสัญญาว่าด้วยการโอนตัวผู้ต้องคำพิพากษาและความร่วมมือในการบังคับ ให้เป็นไปตามคำพิพากษาในคดีอาญา (20 มีนาคม 2004)
๑๗.ความตกลงว่าด้วยกรอบความร่วมมือในการพัฒนาเศรษฐกิจไทย-ลาว (20 มีนาคม 2004)๑๘.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือด้านการศึกษา (20 มีนาคม 2004)๑๙.ความตกลงว่าด้วยการแลกเปลี่ยนเงินกีบและเงินบาท (17 สิงหาคม 2004)๒๐.ความตกลงว่าด้วยการสนับสนุนสภาพคล่องเงินบาท (17 สิงหาคม 2004)๒๑.ความตกลงว่าด้วยการยกเว้นการตรวจลงตราสำหรับผู้ถือหนังสือเดินทางธรรมดาไทย-ลาว (28 ตุลาคม 2004)๒๒.บันทึกความเข้าใจว่าด้วยความร่วมมือต่อต้านการค้ามนุษย์โดยเฉพาะสตรีและเด็กไทย-ลาว (13 กรกฎาคม 2005)
สาระสำคัญของความตกลงว่าด้วย การขนส่งทางถนนระหว่างไทย-ลาว - ครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารทั้งกรณีข้ามแดนและผ่านแดน- ไม่ครอบคลุมถึงการขนส่งสินค้าและผู้โดยสารระหว่างจุดภายในดินแดนของภาคีคู่สัญญา (cabotage) และการขนส่งสินค้าอันตรายหรือสินค้าต้องห้ามตามกฎหมาย
- สินค้าที่ผ่านแดนจะได้รับสิทธิพิเศษคือ จะได้รับการยกเว้นภาษีอากรศุลกากร แต่ประเทศภาคีคู่สัญญายังคงมีอำนาจในการจัดเก็บค่าบริการหรือค่าธรรมเนียมอื่นๆ เช่น ค่าธรรมเนียมในการใช้คลังสินค้า ลานสินค้า ค่าธรรมเนียมเข้าออกสถานีขนส่งสินค้า ค่าขนถ่ายสินค้า ค่าธรรมเนียมในการใช้ท่าเรือ และค่าบริการอื่นๆ ภายใต้หลักการปฏิบัติเยี่ยงคนชาติ (National Treatment)
- ประเทศภาคีคู่สัญญายังคงมีอำนาจในการออกกฎระเบียบภายในประเทศได้ดังนั้น กฎหมายและระเบียบเกี่ยวกับการขนส่งของประเทศภาคีคู่สัญญามีผลบังคับใช้กับกิจกรรมการขนส่งภายในประเทศนั้น
- เจ้าของสินค้าสามารถเลือกผู้ประกอบการขนส่งของภาคีคู่สัญญาหรือผู้ประกอบการขนส่งของประเทศที่สาม ซึ่งได้รับอนุญาตตามกฎหมายของภาคีคู่สัญญาทั้งสองฝ่ายให้ทำการขนส่งสินค้าผ่านแดนได้
- แต่การกำหนดอัตราค่าโดยสารนั้น รัฐบาลทั้งสองประเทศจะเข้าไปควบคุมกำกับดูแลเพื่อให้ผู้ประกอบการขนส่งสามารถดำเนินการได้โดยไม่ประสบผลขาดทุน และในขณะเดียวกันต้องไม่ให้อัตราค่าโดยสารสูงเกินไป
- การกำหนดราคาขนส่งสินค้าประเทศภาคีจะไม่เข้าไปแทรกแซง โดยปล่อยให้เป็นไปตามกลไกตลาด
การปรับกฎหมายไทยให้สอดคล้องกับความตกลงว่าด้วยการขนส่งทางถนนไทย--ลาว การยอมรับการจดทะเบียนซึ่งกันและกันตามหลักการของความตกลง การอนุญาตรถที่จดทะเบียนในต่างประเทศสามารถวิ่งข้ามพรมแดนเข้ามาในดินแดนของอีกประเทศได้ จะต้องมีเงื่อนไขของแผ่นป้ายทะเบียนรถที่เป็นภาษาอังกฤษ และหนังสือรับรองการจดทะเบียนที่เป็นภาษาอังกฤษกรมการขนส่งทางบกได้มีการแก้ไขกฎกระทรวงและประกาศจัดทำแผ่นป้ายทะเบียนภาษาอังกฤษ สำหรับรถที่จดทะเบียน ตาม พ.ร.บ. การขนส่งทางบก มีผลบังคับใช้ตั้งแต่วันที่ 1 กุมภาพันธ์ 2550 แต่สำหรับรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์ อยู่ระหว่างการตรวจแก้ไขร่างกฎกระทรวงของสำนักงานคณะกรรมการกฤษฎีกา หนังสือรับรองการจดทะเบียนเป็นภาษาอังกฤษ ได้มีการออกหนังสือดังกล่าวแล้ว โดยขอรับได้ที่ สำนักมาตรฐานงานทะเบียนและภาษีรถ สำนักงานขนส่งจังหวัด สำนักงานขนส่งสาขาทั่วประเทศ   อ่านต่อ

Logistics China on R3

Logistics China
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบธุรกิจขนส่งทางถนนในจีน
กฎหมายที่เกี่ยวกับการคมนาคมทางถนนของจีน
1 หมวดกฎหมายและกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับทางหลวงแผ่นดิน
(1) กฎหมายว่าด้วยทางหลวงแผ่นดิน
(2) กฎระเบียบว่าด้วยการขนส่งบนทางหลวงแผ่นดิน(3) กฎระเบียบว่าด้วยการควบคุมการเก็บค่าธรรมเนียมการใช้ถนน(4) ประกาศของกระทรวงตำรวจ กระทรวงคมนาคม และสำนักงาน2 หมวดกฎหมายและกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(1) กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(2) ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(3) ระเบียบการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยใน การคมนาคมทางถนน ออกโดยกระทรวงตำรวจ (4) ระเบียบว่าด้วยการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางคมนาคม(5) ระเบียบว่าด้วยการออกใบขับขี่รถยนต์ (6) ระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนรถยนต์ กำกับควบคุมความปลอดภัยแห่งชาติ เรื่อง การเพิ่มประสิทธิภาพในการควบคุมความปลอดภัยด้านการขนส่งผู้โดยสารบนถนน
2 หมวดกฎหมายและกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(1) กฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน
(2) ระเบียบปฏิบัติว่าด้วยความปลอดภัยในการคมนาคมทางถนน(3) ระเบียบการลงโทษผู้ฝ่าฝืนกฎหมายว่าด้วยความปลอดภัยใน การคมนาคมทางถนน ออกโดยกระทรวงตำรวจ (4) ระเบียบว่าด้วยการจัดการปัญหาอุบัติเหตุทางคมนาคม(5) ระเบียบว่าด้วยการออกใบขับขี่รถยนต์ (6) ระเบียบว่าด้วยการขึ้นทะเบียนรถยนต์
3 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนน
(1) ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมการขนส่งพัสดุภัณฑ์ขนาดใหญ่ทางถนน
(2) ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมการขนส่งพัสดุภัณฑ์รายย่อยทางถนน(3) ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมคุณภาพการประกอบกิจการขนส่งพัสดุ ภัณฑ์ทางถนน (ฉบับชั่วคราว)(4) ประกาศสำนักนายกรัฐมนตรีเกี่ยวกับการจัดการปัญหาความเป็นระเบียบเรียบร้อยในการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนน
4 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับรถยนต์และผู้ขับขี่( รวม 16 ฉบับ )5 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการจราจรบนถนน( รวม 5 ฉบับ )6 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการจัดการอุบัติเหตุบนถนน( รวม 4 ฉบับ )7 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการปฏิบัติหน้าที่ของเจ้าพนักงานบนถนน( รวม 5 ฉบับ )8 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการใช้ถนนที่มีโทษทางอาญา( รวม 5 ฉบับ )9 หมวดกฎระเบียบบริหารเกี่ยวกับการเข้าออกอาณาจักรของคนต่างด้าวและการขนส่งสัมภาระ( รวม 11 ฉบับ )
สนธิสัญญาระหว่างประเทศ1 สนธิสัญญาเกี่ยวกับสัญญาขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนนระหว่างประเทศ (Convention on the Contract for the International Carriage of Good by Road) (CMR)3ข้อกำหนดเกี่ยวกับการขนส่งโดยรถยนต์ทางถนนระหว่างประเทศ (1956)(Transport International Regulation) (TIR)2 สนธิสัญญาเกี่ยวกับสัญญาขนส่งผู้โดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ (Conventiononthe ContractfortheInternationalCarriageofPassengersandLuggagebyRoad)(CVR)
ข้อชี้แนะภาคอุตสาหกรรมสำหรับการลงทุนของนักลงทุนต่างชาติ
1 ภาคอุตสาหกรรมที่ส่งเสริม (หมวดโลจิสติกส์และการขนส่งทางถนน)
(1) การขนส่งตู้คอนเทนเนอร์ระหว่างประเทศ (ขนส่งต่อเนื่องหลายรูปแบบ)(2) การขนส่งสินค้าทางถนน(3) การประกอบกิจการธุรกิจเกี่ยวเนื่องกับการขนส่ง เช่น คลังสินค้า ศูนย์รับซ่อมรถยนต์ การให้เช่าหรือเช่าซื้อรถยนต์ การก่อสร้างและสัมปทานกิจการสาธารณูปโภคทางถนน
2 ภาคอุตสาหกรรมที่จำกัด (ต้องขอใบอนุญาต)
(1) กิจการขนส่งพัสดุผ่านแดน
(2) กิจการตัวแทนขนส่งสินค้าระหว่างประเทศ(3) กิจการรถโดยสารนักท่องเที่ยว (เฉพาะกิจการรถโดยสารนักท่องเที่ยวจะได้รับการส่งเสริมการลงทุนตามนโยบายบุกเบิกพัฒนาภาคตะวันตกของจีน)3 ภาคอุตสาหกรรมที่ต้องห้าม(1) กิจการพัสดุไปรษณียภัณฑ์
กฎหมายและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องกับการประกอบ
ธุรกิจขนส่งทางถนนในจีนสำหรับนักลงทุนต่างชาติ
1 ข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมกิจการขนส่งทางถนน
สำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว2 ข้อกำหนดว่าด้วยการอนุญาตให้ประกอบกิจการตัวแทนขนส่งพัสดุ ภัณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว3 ข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมกิจการตัวแทนขนส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว
4 ระเบียบวิธีปฏิบัติตามข้อกำหนดว่าด้วยการควบคุมกิจการตัวแทนขนส่ง
พัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศสำหรับวิสาหกิจทุนต่างด้าว
5 หนังสือตอบข้อหารือเกี่ยวกับการจัดตั้งวิสาหกิจประกอบกิจการด้าน
โลจิสติกส์ของนักลงทุนต่างชาติ
6 ข้อกำหนดว่าด้วยวิธีการควบคุมการอนุญาตให้วิสาหกิจทุนต่างชาติ ประกอบกิจการลิสซิ่งในจีน
รูปแบบการประกอบกิจการขนส่งทางถนนในจีน
1 กิจการที่เกี่ยวกับการขนส่งนักท่องเที่ยวทางถนน
ดำเนินการภายใต้รูปแบบการร่วมทุนเท่านั้น
2 กิจการเกี่ยวกับการขนส่งพัสดุภัณฑ์ หรือ กิจการเกี่ยวกับคลังสินค้า
เพื่อการขนส่ง หรือกิจการเสริมการขนส่ง
ดำเนินการได้ภายใต้รูปแบบ การร่วมทุน หรือ การ่วมมือ หรือ
การลงทุนโดยทุนต่างชาติทั้งหมด รูปแบบหนึ่งรูปแบบใดก็ได้
3 กิจการเกี่ยวกับการเป็นตัวแทนขนส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศดำเนินการได้ภายใต้รูปแบบ การร่วมทุน หรือ การร่วมมือ หรือ การลงทุนโดยทุนต่างชาติทั้งหมด รูปแบบหนึ่งรูปแบบใดก็ได้
การประกอบกิจการขนส่งนักท่องเที่ยวทางถนนในจีน
สำหรับนักลงทุนต่างชาติ
(1) โครงการต้องสอดคล้องกับนโยบายและแผนพัฒนาด้านการขนส่งทาง
ถนนของรัฐบาลส่วนกลางและรัฐบาลส่วนท้องถิ่น
(2) เสนอสัญญาร่วมทุนและข้อบังคับของกิจการร่วมทุนต่อหน่วยงาน
เศรษฐกิจและการค้าระหว่างประเทศ ภายใต้สังกัดสำนักนายกรัฐมนตรี
(กรมเศรษฐกิจการค้าระหว่างประเทศระดับมณฑลหรือระดับเมือง)
(3) ผู้ร่วมทุนฝ่ายหนึ่งฝ่ายใดจะต้องมีประสบการณ์ใน
การประกอบกิจการขนส่งมาแล้วอย่างน้อย 5 ปี
(4) นักลงทุนต่างชาติลงทุนได้ไม่เกิน 49%
(5) ระยะเวลาประกอบกิจการไม่เกิน 12 ปี แต่
(ก) กิจการที่ใช้เงินลงทุนจำนวนไม่ต่ำกว่า 50% เพื่อการพัฒนาและ
ปรับปรุงเกี่ยวกับด้านการขนส่ง ผู้ประกอบการสามารถขอขยาย
เวลาประกอบการถึง 20 ปี
(ข) กิจการที่ได้รับการประเมินแล้วว่ามีคุณภาพและมีส่วนส่งเสริมนโยบาย
ของรัฐ ผู้ประกอบการนั้นจะได้รับการขยายเวลาประกอบการออกไปอีก
แต่ครั้งละไม่เกิน 20 ปี
การประกอบกิจการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนนในจีน
สำหรับนักลงทุนต่างชาติ
การขออนุมัติโครงการ
(1) คำขออนุญาต จะต้องระบุจำนวนเงินลงทุน ทุนจดทะเบียน
วัตถุประสงค์ ขนาดของกิจการ ระยะเวลาประกอบการ
และขอบเขตของการประกอบกิจการในจีน
(2) หนังสือสรุปข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับโครงการ
(3) หลักฐานการจดทะเบียนบริษัทของนักลงทุนทุกฝ่าย
(4) หลักฐานการรับรองสถานภาพทางการเงินของนักลงทุนทุกฝ่าย
(5) นักลงทุนฝ่ายที่ประสงค์จะลงทุนด้วยทรัพย์สิน
(สิทธิการใช้ที่ดิน เครื่องจักร รถยนต์ อุปกรณ์ ฯลฯ)
จะต้องมีหนังสือรับรองการประเมินราคาทรัพย์สินจาก
หน่วยงานที่เกี่ยวข้อง
(6) หนังสือแสดงเจตนารมณ์ในการร่วมทุนหรือร่วมมือ (MOU)
ระหว่างนักลงทุนต่างชาติกับผู้ประกอบการจีน
(กรณีเป็นภาษาต่างชาติต้องแปลเป็นภาษาจีน)
(7) เอกสารหรือหลักฐานอื่นใดที่หน่วยงานรับคำขอจะพิจารณาเพิ่มเติม
การขอใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งพัสดุภัณฑ์
ผู้ยื่นคำขอต้องนำหนังสืออนุมัติโครงการและหนังสืออนุญาตให้จัดตั้งวิสาหกิจทุนต่างชาติเสนอต่อกรมคมนาคม (ระดับมณฑล) ภายใน 30 วันทำการนับแต่วันได้รับหนังสืออนุญาตเพื่อขอรับใบอนุญาตประกอบกิจการขนส่งพัสดุภัณฑ์ทางถนน
เมื่อได้รับใบอนุญาตให้ประกอบกิจการขนส่งฯ และจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจทุนต่างชาติเสร็จเรียบร้อยแล้ว ต้องยื่นขอเลขภาษีต่อกรมสรรพากร
(ระดับมณฑล) หลังจากนั้น จึงจะเริ่มดำเนินกิจการตามที่รับอนุญาตได้
ผู้ยื่นคำขอที่ได้รับหนังสืออนุมัติโครงการ (จากกระทรวงคมนาคม) หากมิได้ดำเนินการจดทะเบียนจัดตั้งวิสาหกิจให้เสร็จสิ้นภายใน 18 เดือน ให้ถือว่าหนังสืออนุมัติโครงการสิ้นผลบังคับทันที
การประกอบกิจการตัวแทนขนส่งพัสดุภัณฑ์ระหว่างประเทศ
เงื่อนไขการขออนุอนุมัติโครงการ
(1) นักลงทุนต่างชาติจะต้องถือหุ้นไม่น้อยกว่า 50%(2) นักลงทุนฝ่ายจีนหนึ่งบริษัทมีประสบการณ์อย่างน้อย 1 ปี(3) นักลงทุนต่างชาติหนึ่งบริษัทมีประสบการณ์อย่างน้อย 3 ปี(4) ไม่เคยมีประวัติการทำผิดกฎหมาย(5) ธุรกิจที่แข่งขันไม่อาจเป็นผู้ร่วมทุนได้(6) นักลงทุนต่างชาติที่ยังประกอบกิจการไม่ครบ 2 ปี ห้ามมิให้ยื่นขอประกอบกิจการตัวแทนฯ ในลักษณะเดียวกันแห่งที่ 2
เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำสำหรับการจัดตั้งวิสาหกิจทุนต่างชาติในจีน
ประเภทกิจการ
(1) ตัวแทนการขนส่งพัสดุ
ภัณฑ์ระหว่างประเทศ
(ทางถนน)
(2) ขนส่งพัสดุภัณฑ์และคลังสินค้า
(3) โลจิสติกส์
เงินทุนจดทะเบียนขั้นต่ำ
1 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
5 ล้านเหรียญสหรัฐอเมริกา
ระบบการค้าชายแดนประกาศสำนักนายกรัฐมนตรี เกี่ยวกับการค้าชายแดน ฉบับลงวันที่ 13 ธันวาคม ค.ศ.2005
(1)รูปแบบการค้าชายแดน(ก) ตลาดการค้าระหว่างคนพื้นที่ชายแดนสองฝั่งตลาดการค้าที่ทางการอนุญาตเปิดให้คนพื้นที่ชายแดนทั้งสองฝั่งเข้ามาทำการค้าขายในจุดที่ถูกกำหนดให้อยู่ห่างจากพรมแดนไม่เกิน 20 กิโลเมตร การซื้อขายในตลาดดังกล่าว ห้ามมิให้ซื้อขายเป็นจำนวนเงินและจำนวนสินค้าเกินกว่าที่กำหนด
(ข)การค้าชายแดนขนาดย่อมการค้าขายเล็กๆ น้อยๆ ตามด่านชายแดนทางบกซึ่งอยู่ในเขตปกครองของอำเภอชายแดนหรือเทศบาลชายแดน วิสาหกิจที่ได้รับอนุญาตให้ประกอบการค้าชายแดนสามารถเข้าไปติดต่อค้าขายกับบริษัทหรือหน่วยธุรกิจอื่น ๆ ในเขตชายแดนของประเทศเพื่อนบ้านได้
(2) การเก็บภาษีนำเข้าและภาษีอื่นๆที่เกี่ยวข้องในเขตชายแดน(ก)สินค้านำเข้าที่มีมูลค่าไม่เกิน 1,000 หยวนต่อคนต่อวัน ได้รับการยกเว้นภาษีนำเข้าและภาษีอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้อง (ข)ในส่วนที่เกินจาก 1,000 หยวน ให้อยู่ในระบบเรียกเก็บภาษีตามพิกัดอากรศุลกากรปกติ(ค)สินค้าประเภทบุหรี่ สุรา และเครื่องสำอางที่นำเข้าต้องชำระภาษีตามพิกัดอากรศุลกากรที่กำหนด

วิบูลย์ ตั้งกิตติภาภรณ์
www.fareastlegalthailand.com

Hot money' fuels inflation in China

A torrent of speculative capital is handcuffing China's efforts to fight inflation and casting doubt on its willingness to allow its currency to continue increasing in value — something U.S. manufacturers have long sought.Undocumented "hot money" is sneaking past China's official controls through a variety of channels, including phantom trade involving no real goods, and foreign companies padding investment receipts. Estimates vary as to how much cash has made its way into the fast-growing Chinese economy. Donald Straszheim, vice chairman of Roth Capital Partners in Newport Beach, Calif., pegs it at $162 billion in the first half of this year. Brad Setser, a former Treasury Department economist, says it could be up to $250 billion — about equal to Portugal's annual economic output.

How easy is it to get a casual job in Thailand

Most foreigners doing this kind of work in Thailand work as English teachers, as this is really the only work opportunity available. Legally, you can't work without a work permit (which is difficult to get, you must have a degree amongst other requirements). A reputable language school should provide this for you, but not all of them will. Even if you're unqualified, getting a job is relatively easy but it will only pay around 25000B a month. If you don't get a work visa, you are in a very weak position and can't do anything if the school decides not to pay you for any reason, or the Immigration bureau decides to check up etc...If you don't really know how to teach, it's not worth getting a job like this in Thailand. Unqualified teachers are made to work hard, have poor working conditions and you have a responsibility to provide value for money for the students. Check Ajarn.com and Stickman's guide for more information on teaching in Thailand

แหล่งใจกลางช็อปปิ้ง

ย่านธุรกิจ "หลัวซือวัน" แหล่งใจกลางช็อปปิ้ง ระดับกลาง ในคุนหมิงที่แต่ละวันจะมีนักท่องเที่ยว พ่อค้า แม่ค้า ทั้งหัวแดง หัวดำ มาเลือกซื้อสินค้าไม่ต่ำกว่าวันละ 2 แสนคน เพราะที่นี่ คือ แหล่งศูนย์การค้าส่งและปลีก ขนาดใหญ่ที่สุดในคุนหมิง
นครคุนหมิง เมืองหลวงแห่งยูนนาน เมืองท่าใหญ่อันดับ 4 ของจีนรองจากเซี่ยงไฮ้ ปักกิ่ง และกวางโจว ที่ทางการจีนหมายมั่นให้เป็นประตูการค้าทางตะวันตก หลังพัฒนาเส้นทาง R3e เชื่อมกับไทย ลาว เวียดนาม ลงสู่อาเซียน วางเป้าหมายสู่ฮับโลจิสติกส์ ค้าขายกับพันธมิตรที่ต้องการเข้าสู่ตลาดจีน
พลเมือง ราว 4 ล้านคน ยึดอาชีพการค้าในคุนหมิง ขณะที่ประชากรในยูนนาน มีเท่ากับ 45 ล้านคน มองเห็นลู่ทางการค้า พอๆ กับนักธุรกิจต่างชาติ ที่ต้องการเข้ามาเจาะตลาดแห่งนี้ ดังนั้นในแต่ละวัน นอกจากแผงขายสินค้าทั่วไปริมถนน ภาพคนขี่จักรยาน แร่ขายสินค้า ยังคงมีให้เห็น เพราะมันคือ วัฒนธรรมขายของดั้งเดิม ที่คนคุนหมิงกระทำมาตั้งแต่อดีต
แต่เมื่อโลกการค้ายุคเสรี ทางการยูนนาน มองเห็นศักยภาพการค้าในเมืองนี้ 'เมืองใหม่' แห่งคุนหมิง จึงถูกรีโนเวตขึ้นใหม่ พร้อมๆ กับการวางโครงสร้างพื้นฐานสำคัญอย่างสนามบิน โครงการรถไฟฟ้าขนาดใหญ่ ที่คาดว่า อีก 2 ปีแผนก่อสร้างทุกอย่างจะเสร็จสิ้น เพื่อให้ 'เมืองท่า' แห่งนี้ รองรับการค้าที่จะหลั่งไหลเขามาอย่างต่อเนื่อง
ข้อมูลธุรกิจ จากศูนย์การค้าไทย-จีน ประจำนครคุนหมิง บอกไว้ว่า รายได้การเติบโตของนครคุนหมิง เพิ่มขึ้นมาตลอด 3 ปีหลัง โดยปี 2005 อัตราเติบโตคิดเป็นมูลค่า เท่ากับ 347,234 ล้านหยวน ส่วนปี 2006 เพิ่มเป็น 400,190 ล้านหยวน ส่วนปี 2007 กำลังเก็บตัวเลขอยู่ แต่เชื่อว่า จะเพิ่มขึ้นอย่างแน่นอน
อัตราเติบโตมากขนาดนี้ จึงไม่ใช่แปลกใจสำหรับผู้บริหารบริษัท ยูนนาน เท็กส์ไทล์ คอร์ปอเรชัน จำกัด "เหลียนจง หัว" ที่ผันตัวเองจากรับจ้างสิ่งทอในอดีต เมื่อ 10 ปีหลัง มาสู่การสร้างคอมเพล็กซ์ ขนาดใหญ่ ภายใต้ชื่อ "หยุนฝาน ชอปปิ้ง เซ็นเตอร์" ร่วมกับพันธมิตรจากเมืองไทย คือ "อำภา เจียรกิตติกุล" ประธานบริษัท บัวหิมะ (ประเทศไทย) จำกัด
มูลค่าการลงทุนกว่า 1,200 ล้านบาท แบ่งลงทุนฝ่ายละ 50:50 ก่อสร้างเป็นศูนย์กระจายสินค้าไทย ประจำเมืองคุนหมิง บนพื้นที่ 20,000ตารางเมตร พร้อมเปิดทำการในเดือนสิงหาคม 2551 เป็นความหวังที่ขั้วธุรกิจ จากไทย และจีน มองว่า จะประสบความสำเร็จอย่างมาก
ขนาดที่ว่า ตึกเฟสแรก สูง 22 ชั้น สร้างขึ้นพร้อมๆ กับตึกเฟสที่สอง ขนาดความสูงเท่ากัน เพื่อให้ทันรับความต้องการผู้ประกอบการที่จองบูธเต็มหมดแล้ว ประธานยูนนาน เท็กส์ไทล์ฯ 'เหลียนจง หัว' กล่าวอย่างมั่นใจว่า ศูนย์กระจายสินค้าแห่งนี้ จะสร้างความมั่งคั่งแก่นักธุรกิจ ที่เข้ามาค้าขายในศูนย์แห่งนี้ฯ โดยประเมินจาก ยอดขายในเขตหลัวซือวัน สูงถึงปีละ 5,000 ล้านหยวน หรือคิดเป็นเงินไทย เท่ากับ 25,000 ล้านบาท
"ลูกค้าในย่านการค้าปลีกค้าส่ง ที่อยู่ติดกับศูนย์กระจายสินค้าไทยมีอยู่ 2 ประเภทคือ คนจากเมืองต่างๆ ของมณฑลยูนนานเอง ที่เดินทางมาซื้อสินค้า เพื่อนำไปกระจายยังเมืองต่างๆ ส่วนอีกประเภทคือนักธุรกิจจากมณฑลอื่นทั่วประเทศ เดินทางเข้ามาสำรวจสินค้าเพื่อนำไปกระจายยังถิ่นที่อยู่ของตนเอง" เหลียนจง หัว กล่าว

ดีไซน์+คุณภาพ จุดขายสินค้าไทย
ความตั้งใจจะปลุกปั้นผู้ประกอบการเอสเอ็มอีและกลุ่มสินค้าโอท็อป จากเมืองไทย ไปเปิดตลาดในศูนย์ฯนี้ เพราะมองเห็น 'ลู่ทาง' การขายสินค้าจากเมืองไทย ว่าปัจจุบัน วิถีบริโภคจีน รุ่นใหม่ มองหาความแตกต่าง จากสินค้าวางขายทั่วไปในท้องตลาด
ความต่างที่ว่าคือ ไม่ว่าจะเป็นสินค้าอุปโภค บริโภค เสื้อผ้า อุปกรณ์เครื่องใช้ต่างๆ กระทั่งเครื่องประดับอย่าง เพชร ที่วันนี้ กลุ่มแพรนด้า จิวเวลรี่ หันมาให้ความสนใจเปิดตลาดย่านตะวันตกของจีนเพิ่มขึ้น หลังมีฐานผลิตในกวางโจว ย่านการค้าแถบตะวันออก และกำลังเล็งเปิดแบรนด์สินค้า รุ่นใหม่ อีก 3 ยี่ห้อในอนาคต
เพราะกำลังเจรจาระหว่างผู้ว่าการรัฐต่างๆ ให้เร่งดำเนินการปัญหาเรื่องภาษีนำเข้า และภาษีศุลลากร ให้เสร็จสิ้นก่อนปี 2553 ที่ภาษีลดลงเหลือ 0% ตามกฎ WTO 
อำภา บอกว่า พฤติกรรมบริโภคจากวัยรุ่นจีน เติบโตท่ามกลางความมั่งคั่ง ทำให้เลือกจะบริโภคสิ่งที่ดีที่สุด เพราะกำลังซื้อที่สามารถจ่ายได้
"มุมมองผู้บริโภคจีน ยุคนี้ การเอาใจใส่ 'คุณภาพ' สำคัญมาเป็นที่หนึ่ง และที่ผ่านมา สินค้าตีตรา "เมดอินไทยแลนด์" ชาวจีน ต่างยอมรับถึงในเรื่องนี้ ดังนั้นหากผู้ประกอบการไทย ต้องการจะประสบความสำเร็จ เชื่อว่า ไม่ใช่เรื่องใหญ่ เพียงแค่มีการปรับปรุงขั้นตอนการผลิตให้ดียิ่งขึ้น
...และหากมีการตกแต่งเรื่องของดีไซน์ และแพกเก็จ ให้ดูหรูหรา นั่นเป็นอีกทางหนึ่งที่จะประสบความสำเร็จเร็วขึ้น เพราะกำลังซื้อที่รออยู่แล้ว ดังนั้น เรา (ผู้ประกอบการไทย) การเปิดตลาดที่นี่ ต้องจับตลาดพรีเมี่ยมเท่านั้น" 
ขณะที่ พิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และหัวหน้าภูมิภาค (ฮับ) จีน คืออีกบุคคลหนึ่ง ที่คลุกคลีกับการค้าจีน-ไทย มานาน เผยว่า สินค้าไทยทุกรายการสามารถนำเข้าไปขายในประเทศจีนได้หมด แต่จะต้องเป็นสินค้าเน้นกลุ่มลูกค้าระดับบนเท่านั้น ซึ่งภาพลักษณ์สินค้าไทยในสายตาคนจีนดีมาก
เพราะความเชื่อมั่นในเรื่อง 'คุณภาพ' เดิม ยังดีอยู่ หากมีการปรุงแต่งให้ดีขึ้น เชื่อว่าจะประสบความสำเร็จแน่นอน เช่นกลุ่มเแฟชัน ดีไซน์ใหม่ๆ จากไทย เราเรียนรู้ระบบจากเมืองแฟชัน ไม่ว่าจะเป็นอิตาลี หรือฝรั่งเศส การยอมรับในระดับโลก ไม่น่าจะมีปัญหา ส่วนกลุ่มสินค้าบริการ ไม่ว่าจะเป็นสปา ภัตตาคาร ท่องเที่ยว สามารถมาทำธุรกิจได้ทั้งหมด
ส่วนภูสิต  เพ็ญศิริ ผู้อำนวยการศูนย์พัฒนาการค้า การลงทุนแผนใหม่ (ITDC) ประจำนครคุนหมิง บอกว่า จากผลสำรวจที่ศูนย์การค้าการ-ลงทุนแผนใหม่ มีอยู่พบสิ่งที่น่าสนใจ ที่จะเกิดขึ้นต่อภูมิภาคเอซีย โดยเฉพาะอย่างยิ่งที่มีผลกระทบต่อประเทศไทย จากการเสริมสร้างจุดยุทธศาสตร์แห่งประเทศไทยทางด้านการขนส่ง (Logistic) ตามถนน R3 หรือที่เรียกว่า "คุน มั่ง กง ลู่" เชื่อมระหว่างนครคุนหมิง-กรุงเทพฯและถนน R9 เชื่อมระหว่างภาคตะวันตกและตะวันออก ส่งผลให้การเชื่อมต่อทางการค้าและการลงทุน พบว่า
จีนเป็นประเทศที่ได้เปรียบในการขับเคลื่อนเศรษฐกิจโลก ประชากรชาวจีนระดับกลาง (Middle Class) เจริญเติบโตขึ้น 50 กว่าเปอร์เซ็นตามการโตต่อเนื่องทางเศรษฐกิจจีน ร้อยละ 9 ตลอดระยะเวลา 10 ปี โดยคนรวยเติบโตเพิ่มตามไปด้วยเกือบ 10 เปอร์เซ็น คาดว่าเมื่อถึงปี ค.ศ. 2012 ต่ออีก 4-5 ปี ข้างหน้า กลุ่ม Middle Class จะขยายตัวเป็นกลุ่มคนรวยถึง 10-15 เปอร์เซ็นต์ ทำให้การเติบโตของคนรวยมีถึง 20-30 เปอร์เซ็นต์ ...ลองมองย้อนกลับมาที่ประเทศไทย เราจะได้อะไรกับการเติบโตเหล่านี้บ้าง นั่นคือโจทย์ใหญ่หรือทางการตลาด ที่เรียกว่า โอกาสแห่งความยิ่งใหญ่ต่อการเติบโตของประเทศไทยอย่างแน่นอนเพราะหากเราไม่ฉวยโอกาส ที่เปิดรออยู่แล้ว ...อาจส่งผลให้ตกขบวนรถด่วนเศรษฐกิจสายไปนี้ไปอย่างน่าเสียดาย ...
Shopping Easy Fingertips
R3e Shopping Online


China Currency Reserves Rise to Record $1.9 Trillion

China’s foreign-exchange reserves rose to a world record $1.906 trillion, helping to strengthen the nation’s finances as the credit crisis threatens to trigger a global economic slump.
Currency holdings rose 32.9 percent at the end of September from a year earlier, the People’s Bank of China said on its Web site today. The increase of about $97 billion over the quarter was down from a $126.6 billion gain in the previous three months.
China has cut interest rates twice in the past month to stimulate growth as the worst financial crisis since the Great Depression dims the outlook for exports. The world’s fourth- biggest economy can still expand 10 percent this year and 9 percent in 2009, central bank Deputy Governor Yi Gang said Oct. 11 in Washington.
Read more
http://chinadigitaltimes.net/china/hot-money
/