บรรทึกความเข้าใจ ตอน 2

ตาม หลักการของความตกลง รถที่มีหนังสือรับรองว่าได้รับการตรวจสภาพจากประเทศตนจะได้รับยกเว้นไม่ต้อง ตรวจสภาพในประเทศอื่นอีก กรมการขนส่งทางบกได้ออกระเบียบการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ เพื่อการใช้รถนอกราชอาณาจักร ซึ่งใช้บังคับกับรถที่ใช้ในเชิงพาณิชย์ หรือ รถตาม พ.ร.บ. การขนส่ง ทางบกส่วนระเบียบการออกหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ เพื่อออกให้กับรถตาม พ.ร.บ. รถยนต์อยู่ระหว่างการปรับปรุงการยอมรับหนังสือรับรองการตรวจสภาพรถ
กรมการขน ส่งทางบกได้วางระเบียบเรื่องการแปลใบอนุญาตขับขี่เป็นภาษาอังกฤษไว้แล้วตาม หลักของความตกลง ผู้ที่ได้รับใบอนุญาตขับขี่ของประเทศตนสามารถขับขี่ในอีกประเทศหนึ่งได้ โดยมีเงื่อนไขว่าหากใบอนุญาตขับขี่ไม่เป็นภาษาอังกฤษ จะต้องมีการแปลเป็นภาษาอังกฤษ การยอมรับใบอนุญาตขับขี่ซึ่งกันและกัน โดยประชาชนสามารถมาขอรับใบแปลใบอนุญาตได้ที่ สำนักมาตรฐานงานทะเบียน และภาษีรถ หรือ สำนักงานขนส่งจังหวัดทั่วประเทศ
ประเด็น ที่เป็นสาระสำคัญ
การบังคับให้เป็นไปตามข้อ กำหนดทางเทคนิคของรถเกี่ยวกับขนาดรถ น้ำหนักรถ น้ำหนักบรรทุกสูงสุด การปล่อยไอเสีย
กฎหมายแม่บท พระราชบัญญัติทางหลวง พ.ศ.2535−พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522
การยอม รับแผ่นป้ายทะเบียนรถ หนังสือรับรองการจดทะเบียนรถ ที่ออกโดยหน่วยงานที่มีอำนาจของประเทศภาคีคู่สัญญาอื่น กฎหมายแม่บท พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522
การยอมรับหนังสือรับรองการ ตรวจสภาพรถซึ่ง ออกโดยภาคีคู่สัญญา กฎหมายแม่บท พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522วิ
การยอมรับใบอนุญาตขับขี่รถซึ่งออกให้โดยภาคีคู่ สัญญา
−พระราชบัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522
ระบบ ศุลกากรผ่านแดนเพื่ออำนวยความสะดวกในการเคลื่อนย้ายสินค้า
−พระราช บัญญัติศุลกากร
การพัฒนาระบบการวางประกัน สินค้าผ่านแดน(Guaranteesystem) ที่น่าเชื่อถือและเป็นที่ยอมรับระหว่างประเทศ
−พระราช บัญญัติศุลกากร
การจัดแบ่งประเภทพิกัด สินค้า
−พระราชกำหนดพิกัดอัตราศุลกากร พ.ศ.2530วิ
การขนส่ง สินค้าอันตราย สินค้าต้องห้ามหรือสินค้าที่ถูกจำกัด สินค้าเน่าเสียง่าย
−พระราช บัญญัติการขนส่งทางบก พ.ศ.2522−พระราชบัญญัติศุลกากร −พระราชบัญญัติวัตถุอันตราย
ร่วมกันตรวจ (jointinspection)เช่น Single-stopInspection และ Single-windowInspection
พระราช บัญญัติศุลกากร −พระราชบัญญัติคนเข้าเมือง −พระราชบัญญัติกักพืช−พระราชบัญญัติโรคติดต่อ
ความรับ ผิดตามสัญญาขนส่ง (Carriagecontract
−ตราพระราชบัญญัติใหม่ (มีการดำเนินการยกร่างแล้ว คือ ร่างพระราชบัญญัติการรับขนของทางถนนระหว่างประเทศ และร่างพระราชบัญญัติการรับขนคนโดยสารและสัมภาระทางถนนระหว่างประเทศ)
เนื้อหา รายละเอียดในพิธีสารหรือภาคผนวก
การจัดให้มีโครงสร้างพื้น ฐานและสิ่งอำนวยความสะดวกสำหรับการปฏิบัติการ กฎจราจร กฎระเบียบ และมาตรฐานเกี่ยวข้องกับการขนส่ง
หน่วยงานหลักที่ รับผิดชอบ
กรม ศุลกากร / สำนักงานตำรวจแห่งชาติ /กรมทางหลว
การยอมรับ หนังสือรับรอง ใบอนุญาตหรือเอกสารที่ออกให้โดยประเทศภาคีคู่สัญญาอื่น
ยานพาหนะ ที่จะใช้ขนส่ง
กรมการขนส่งทางบก
การอำนวย ความสะดวก ณ พรมแดน
กรมศุลกากร / สำนักงานตำรวจแห่งชาติ
ความรับผิดตามสัญญาขนส่ง
กรมการขน ส่งทางบก
กฎหมายไทยที่เกี่ยวกับการขนส่งระหว่างประเทศ
๑. พระราชบัญญัติการขนของทางทะเล
๓. พระราชบัญญัติจัดตั้งศาลทรัพย์สินทางปัญญาและ
การค้า ระหว่างประเทศ และวิธีพิจารณาคดี
ทรัพย์สินทางปัญญาและการ ค้าระหว่างประเทศ
๔. กฎหมายระหว่างประเทศ ได้แก่ -Conventiononthe ContractfortheInternationalCarriageofGoodsbyRoad(CMR)-Conventiononthe ContractfortheInternationalCarriageofPassengersandLuggagebyRoad(CVR)-Transport International Regulation (TIR)
การให้สิทธิพิเศษด้านภาษี ศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาวรัฐบาลไทยมีนโยบายสนับสนุนการนำเข้า สินค้าเกษตรจากประเทศเพื่อนบ้านรวมทั้งลาว ภายใต้กรอบอาเซียน และยุทธศาสตร์ความร่วมมือทางเศรษฐกิจ (ACMECS)เพื่อช่วยพัฒนาศักยภาพทางเศรษฐกิจของประเทศเพื่อนบ้าน
ไทยได้ ให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรในการนำเข้าสินค้าเกษตรจากลาว ทั้งในรูปของการให้สิทธิพิเศษด้านภาษีศุลกากรแก่ประเทศสมาชิกอาเซียนใหม่ (ASEANIntegrationSystemofPreferences---AISP)และยกเว้นอากรขาเข้าสินค้าใน ลักษณะ OneWayFreeTradeรวมจำนวน 187 รายการและเพิ่มเป็น 300 รายการในปี 2005 และปี 2006วิ
๑. การปรับปรุงประสิทธิภาพระบบโลจิสติกส์ในภาคการผลิต (BusinessLogisticsImprovement)๒. การเพิ่มประสิทธิภาพระบบขนส่งและโลจิ สติกส์(TransportandLogisticsNetworkOptimization)๓. การพัฒนาธุรกิจโลจิสติกส์ (LogisticsServiceInternationalization)๔. การปรับปรุงสิ่งอำนวยความสะดวกทางการค้า (TradeFacilitationEnhancement)๕. การพัฒนากำลังคนและกลไกการขับเคลื่อนยุทธศาสตร์ (CapacityBuilding)
แผน ยุทธศาสตร์การพัฒนาโลจิสติกส์ของไทยปี พ..ศ..25502550--25542554สำนักงานคณะกรรมการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติ สำคณะรัฐมนตรีได้มีมติเห็นชอบ เมื่อวันที่ 27 กุมภาพันธ์ 2007

R3e เส้นทางเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขง

R3e เส้นทางเศรษฐกิจลุ่มน้ำโขงนโยบาย Go West ที่จีนต้องการขยาย 'สมดุลย์' การค้าฝั่งตะวันตก เทียบเคียงฝั่งตะวันออก มุ่งเข็มค้าขายกับเพื่อนบ้าน หลังพัฒนาเส้นทาง R3e เป็นทางผ่าน ดึงดูดนักลงทุนเปิดอย่างเป็นทางการแล้ว
กลางปี 2551 คือ ดี.เดย์. ที่ทางการจีน หวังใช้เส้นทาง R3e ค้าขายกับเพื่อนบ้านไม่ว่าจะเป็นไทย ลาว กระทั่งเวียดนาม หลังพัฒนา 'ทางเดิน' นี้มานานหลายปี เพราะต้องการเปิดประตูระหว่างจีนตอนใต้ เชื่อมไปสู่อาเซียน รองรับข้อตกลงเอฟทีเอจีน-อาเซียน ที่จะลดภาษีระหว่างกันเหลือ 0% ภายในปี 2553
ยุทธศาสตร์วาง 'ยูนนาน' เป็นหนึ่งใน 7 หัวเมืองใหญ่ทางใต้ของจีน เชื่อมการค้าสู่อาเซียน กับเพื่อนบ้านลุ่มน้ำโขง 6 ประเทศในโครงการ GMS ประกอบด้วย ไทย จีน พม่า ลาว กัมพูชา และเวียดนาม โดยมี 'คุนหมิง' เป็นศูนย์กลางใหญ่รวบรวมและกระจายสินค้า เป็นส่วนหนึ่งของโครงการ North-South Economic Corridor
พิษณุ เหรียญมหาสาร รองปลัดกระทรวงพาณิชย์ และหัวหน้าภูมิภาค (ฮับ) ไทย-จีน บอกว่า เส้นทางค้าขายกับจีน ผ่านทางทางเหนือของไทย หรือที่เรียกว่า เส้นทาง"คุน มั่น กง ลู่" เริ่มจากใกล้ที่สุดคือ อ.เชียงแสน จ.เชียงราย กับเมืองจิ่งหง หรือ เชียงรุ่ง ในแคว้นสิบสองปันนา มณฑลยูนานของจีน ซึ่งเส้นทางนี้ รัฐบาลจีน ยุค 'จู หรง จี' หวังใช้เป็นเส้นทางค้าขายกับเพื่อนบ้าน เพราะจีนกำลังเปิดประเทศ
พิษณุกล่าวว่า จีนมองการณ์ไกลมาก ในการเชื่อมจีน-อาเซียน ไม่ใช่แค่บ่อเต็น-เชียงของ จนมาถึงแค่กรุงเทพฯ จีนยังมีแผนขยายเส้นทางไปจนถึงแหลมฉบัง และต่ออันดามัน หวังเป็นอีกหนึ่งเส้นทางเชื่อมจีนกับอินเดีย
แต่เดิมจีนจะขยายเส้นทางไปทางทวายที่พม่า เพื่อเป็นประตูสู่อันดามัน แต่ปรับแผนหันมาลงอันดามันฝั่งไทยที่โคกกลอย จ.พังงา
"ถ้าทำได้สำเร็จ สิงคโปร์และมาเลเซีย จะวิตกมาก แผนของจีนคือ สร้างทางรถไฟเชื่อมบ่อหิน-หลวงพระบาง ซึ่งจากจุดนี้เชื่อมต่อไปที่เชียงของได้ และลงมาที่แพร่ เด่นชัย และถ้าลงไปถึงโคกกลอย จะเป็นเส้นทางที่สมบูรณ์เชื่อมจีนกับอินเดีย"
พิษณุ ระบุว่า เส้นทางเชียงของ เชียงราย คุน-มั่น คุนหมิง จะเป็นเส้นทางโลจิสติกส์ที่น่าสนใจมาก และจะกลายเป็นแหล่งกระจายสินค้าที่สำคัญที่สุด เพราะทุกวันนี้ นักธุรกิจทั้งไทย และเพื่อนบ้านใกล้ๆ ต่างเข้าไปดำเนินธุรกิจบ้างแล้ว และเชื่อว่า ผลดีน่าจะตกกับทุกฝ่าย
ขณะที่ นายสุรพันธุ์ บุณยมานพ กงสุลใหญ่แห่งราชอาณาจักรไทย ประจำนครคุนหมิง กล่าวว่า การเปิดเส้นทางค้าขาย เชื่อมคุนหมิง กับไทย น่าจะทำให้มูลค่าการค้าระหว่างไทยและจีนจะเพิ่มมากขึ้น
"เดิมการค้าระหว่างไทยและยูนนาน มีสัดส่วนเพียง 0.5% ของขนาดการค้าระหว่างไทยกับจีน แต่หลังจากถนนสาย "คุน มั่น กง ลู่" เปิดใช้จะทำให้ไทยมีโอกาสเพิ่มมูลค่าการค้าระหว่างกันให้มากขึ้นแน่นอน เพราะทั้งสองฝ่ายต่างมีเจตนาร่วมกันในการขยายและผลักดันการค้าและการลงทุน" นายสุรพันธุ์ กล่าวทิ้งท้าย