FTA Thai-China

อุปสรรคทางการค้าไทย-จีน ( FTA )
บทความนี้เป็นส่วนหนึ่งของงานวิจัยเรื่อง “การศึกษาระบบโลจิสติกส์ของการค้าไทย – จีนเพื่อรองรับข้อตกลงการค้าเสรีอาเซียน – จีน กรณีศึกษา การค้าชายแดนและการค้าผ่านแดน” ซึ่งได้รับทุนสนับสนุนจากสำนักงานกองทุนสนับสนุนการวิจัย (สกว.) โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อศึกษาและทำการพยากรณ์ปริมาณการซื้อขายของสินค้าชายแดน และสินค้าผ่านแดนระหว่างประเทศไทยและจีนตอนใต้ เพื่อที่จะรวบรวม ประเมิน และนำเสนอแนวทางในการพัฒนาโครงสร้างพื้นฐานของระบบโลจิสติกส์ วิธีการศึกษาวิจัยประกอบด้วย การเดินทางสำรวจเส้นทางขนส่งสินค้าทั้งทางแม่น้ำโขง และทางถนนตามเส้นทาง R3W (ผ่านพม่า) และ R3E (ผ่านลาว) เข้าสู่ยูนนานตอนใต้และการสัมภาษณ์ผู้ประกอบการที่เกี่ยวข้องด้านโลจิสติกส์การขนส่งในไทย ลาว พม่าและจีน ตลอดจนผู้ที่เกี่ยวข้องกับการออกกฎระเบียบและใช้ระเบียบทั้งภาครัฐและเอกชนของประเทศที่เกี่ยวข้อง เพื่อเสนอแนวทางการพัฒนาระบบโลจิสติกส์แบบองค์รวม เพื่อตอบสนองการค้าชายแดน/ผ่านแดนในอนาคต ตลอดจนหาความสามารถของผู้ส่งออก-นำเข้าและผู้ให้บริการด้านโลจิสติกส์ของไทย ผลการศึกษาสรุปได้ว่า ยังมีความหลากหลายในมุมมองด้านมาตรการและกฎระเบียบที่เกี่ยวข้องในการค้าไทย-จีนอยู่มากพอสมควร แต่ส่วนใหญ่เห็นว่าจีนยังไม่พัฒนาไปสู่ความเป็นสากลในด้านกฎระเบียบและมาตรการต่างๆ ทั้งๆที่เข้าเป็นสมาชิกองค์การการค้าโลกและทำ FTA กับไทยแล้ว เนื่องจากยังมีกฎระเบียบของแต่ละมณฑลหรือท้องถิ่นที่มีลักษณะเป็นการกีดกันทางการค้าที่ไม่ใช่มาตรการทางภาษีอยู่ ในด้านการพัฒนาโครงข่ายการขนส่งในกรอบ GMS North-South Corridor นั้น การขนส่งสินค้าทางเส้นทาง R3E ผ่านประเทศลาวไปยังคุนหมิงซึ่งการก่อสร้างคาดว่าจะแล้วเสร็จในปี 2551 นั้น เส้นทางนี้จะส่งผลต่อการขยายตัวของเศรษฐกิจการค้าชายแดนและการค้าผ่านแดนเส้นทางหนึ่ง นอกเหนือจากการขนส่งทางน้ำ เพราะเส้นทาง R3E ใช้ระยะเวลาการขนส่งสั้นกว่าการขนส่งทางเรือ อีกทั้งเงื่อนไขในการขนส่งผ่านประเทศลาวยังยืดหยุ่นกว่าผ่านเส้นทาง R3W ในประเทศพม่า แต่ปัจจัยความสำเร็จของการขนส่งทางบกผ่านประเทศลาวนั้น ขึ้นอยู่กับภาวะราคาน้ำมันในตลาดโลก หากมีราคาสูง การขนส่งทางเรือก็ยังเป็นการขนส่งที่มีความสำคัญในภูมิภาคนี้ แต่ถ้าน้ำมันมีราคาต่ำหรือสามารถพัฒนาพลังงานทดแทนน้ำมันที่มีราคาต่ำลงได้ ตลอดจนมีการจัดทำข้อตกลงระหว่างประเทศด้านการขนส่งและพิธีการศุลกากรควบคู่กันไปด้วย จะทำให้ผู้ประกอบการหันมาใช้เส้นทางขนส่งทางบกผ่านลาวมากขึ้นThis article is extracted from a research entitled, “A Study on Thailand- Southern China Logistics for ASEAN-China FTA Implementation: A Case Study of Border and Transit Trade,” funded by the Thailand Research Fund. Its objective is to study and forecast the volumes of supply and demand of transit commodities in the Thailand-Southern China area. Data collection and in-depth interviews with government officials in Chiangrai and local entrepareneurs in northern Thailand, northern Lao PDR and Yunnan province in southern China have been analyzed for further infrastructure planning and logistics for increasing the volume of transit trade once the construction of international highway R3E is completed by the end of this year.The research found that varieties of tariffs and non-tariff barriers, together with local regulations, particularly on the Chinese side both at the national and local levels, have been main obstacles to the transit trade. Facilitation of transit trade and fair transit transportation charges are therefore vital issues for negotiation among the countries concerned, while international regulations should be respected as well.From: วารสารการจัดการภาครัฐและภาคเอกชน (Journal of Public and Private Management)